หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » สังคม » ธรรมสำหรับการรักษาใจ
 
เข้าชม : ๑๑๖๒๑ ครั้ง

''ธรรมสำหรับการรักษาใจ''
 
พระปลัดอุดร อุตฺตรเมธี (2550)

ธรรมสำหรับการรักษาใจ

โดย  พระปลัดอุดร    อุตฺตรเมธี*

จากเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นที่ จังหวัดแพร่,อุตรดิตถ์ และสุโขทัย  เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐    ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ในด้านทรัพย์สิน และมีผู้เสียชีวิตอีกจำนวนหนึ่ง  ตลอดจนถึงการบอบซ้ำทางด้านสภาพจิตใจของประชาชน โดยเฉพาะหมู่บ้านาตอง บ้านน้ำกาย บ้านกวาง และบ้านใน ช่อแฮ และหมู่บ้านอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

สภาพสังคมไทยภายใต้การหล่อหลอมของพระพุทธศาสนา ซึ่งสอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูลและสงเคราะห์แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากที่ประสบความเดือดร้อน  ทำให้สายธารน้ำใจหลั่งไหลช่วยเหลืออย่างไม่มีที่สิ้นสุด   ทั้งภาคราชการ  รัฐวิสาหกิจ  เอกชน ประชาชน และคณะสงฆ์  ต่างเร่งให้ความช่วยเหลือทุกวิถีทาง เพื่อให้การทำงานฟื้นฟูสภาพของหมู่บ้านต่างๆ  ในจังหวัดแพร่ กลับฟื้นคืนมาโดยเร็วไว   น้ำใจอันงดงามของคนไทยในครั้งนี้ เป็นที่ปรากฏเชิดชูแก่คนไทยทั้งชาติที่ได้ช่วยเหลือกัน โดยไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม สมกับคำภาษิตที่ว่า “น้ำบ่อน้ำคลอง  ยังเป็นรองน้ำใจ  น้ำที่ไหนหรือจะสู้น้ำใจจากคนไทยด้วยกัน”

ภายในความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ต่อครอบครัวผู้ประสบอุทกภัยอย่างใหญ่หลวงนี้  สิ่งที่น่าเป็นห่วงและวิตกกังวลอย่างที่สุดคือ  สภาพจิตใจของผู้ประสบภัย เพราะต่างตกอยู่ในอาการอันหวาดผวา ซึมเศร้า  กับเหตุการณ์ในครั้งนี้

บทบาทของพระสงฆ์ที่ศึกษาอยู่ในสถาบันสงฆ์ คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่  ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ให้กำลังใจต่อผู้ประสบภัยครั้งนี้ หลายครั้งหลายครา ตั้งแต่วันแรกที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเป็นการปลุกปลอบใจในยามวิกฤติ เหมือนเหนึ่งว่า เวลาที่พุทธศาสนิกชนได้รับความลำบากเดือดร้อน  พระสงฆ์ก็มีความทุกข์ใจ คอยให้กำลังใจ และได้น้ำข้าวสารอาหารแห้ง ไปปลอบประโลมใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน  เพื่อฟื้นฟูรักษาสภาพจิตจิตที่หวาดผวา   หวาดกลัว  ให้กลับมาสู่สภาพเดิม  ถึงแม้ว่าจะเป็นการฟื้นฟูที่ต้องอาศัยระยะเวลานานก็ตาม

ในยามวิกฤติ คนไทยทุกคนไม่ทอดทิ้งกัน ให้กำลังใจต่อกัน มีน้ำใจหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ  ดังภาษิตนิโตปเทศที่ว่า

ในยามวิบัติ                   จะเห็นน้ำใจของมิตร

ในยามมีศึกประชิต      จะเห็นน้ำใจทหาร

ในยามสิ้นทรัพย์          จะเห็นน้ำใจภรรยา

ในยามอนาถา              จะเห็นน้ำใจของญาติ

ในยามประสบปัญหามรสุมชีวิต   เราต้องไม่ปล่อยให้ใจตก  ต้องรักษาใจไว้ ความเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมดา ข้อสำคัญคืออย่าให้เสียกำลังใจ  พยายามรักษากำลังใจ ในสภาพการณ์ต่างๆ ไว้ได้  ให้สามารถที่จะแยกแยะว่า จุดไหนดีจุดไหนด้อย  อย่ามองจุดที่ทำให้มืดมิดหมดความหวังอย่างเดียว มองหาปลายทางที่จะทำให้เราพ้นจากอุโมงค์ที่มืดมิดให้พบ เหมือนกับคนที่ติดอยู่ในกองหิมะ ที่ถล่มลงมาทับ เขาจะขุดคุ้ยหิมะหาทางออก ตอนแรกภายใต้กองหิมะ  จะมืดมากก็จริง แต่เมื่อขุดคุ้ยไปถึงจุดหนึ่งจะเห็นแสงเรืองรองรำไรในอีกด้านหนึ่ง นั้นแสดงว่าใกล้ทางออกเพราะหิมะเหลืออยู่น้อยจนแสงจากด้านนอกลอดผ่านเข้ามาเห็นเรืองรอง นั่นคือ ปลายอุโมงค์ที่เขาจะขุดต่อไปให้ถึง

ในยามวิกฤติ  เราจะรักษาใจให้เข้มแข็งอยู่ได้อย่างไร   เป็นคำถามที่ทุกท่านต้องค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง โดยไม่ทิ้งใจให้ห่างจากธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมา  สัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า  ในยามปกติ ให้ดูใจของเราไว้ สร้างกระจกใจ ทุกคนมีเวลาแต่งตัว เรามีกระจกส่องหน้า แต่เราไม่เคยส่องใจของเราเอง  กระจกส่องใจนี้  ภาษาบาลีเรียกว่า  “ ธรรมทาส”  แปลว่า “กระจกคือธรรมะ”  เพ่งดูใจเราเองว่า ตอนนี้เป็นอย่างไร  เมื่อเกิดวิกฤติด้านอุทกภัยน้ำท่วม  ใจเราท้อถ้อยหรือหมดกำลังใจหรือไม่   เมื่อถูกขัดขวางกีดกัน ในที่ทำงาน  เรายกธงขาวหรือยัง  เมื่อใช้กระจกส่องใจแล้วเห็นว่าเรากำลังท้อแท้จนไม่อยากทำอะไรแล้ว เราจะปล่อยให้เป็นอย่างนั้นต่อไปไม่ได้ เพราะจะยิ่งแย่ไปกันใหญ่    เหมือนกับคนที่คิดฆ่าตัวตายก็เริ่มจากความหมดหวังท้อแท้   พอแยกตัวจากคนอื่นก็คิดมากอยู่คนเดียว ไม่ช้าไม่นานเขาก็จะคิดทำร้ายตัวเอง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเขาไม่รู้จักใส่เบรกช่วยตัวอง นั่นคือการสร้างกระจกส่องใจ  ถ้าเห็นว่าจิตตก ต้องยกจิต ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ลีเน  จิตฺตมฺหิ   ปคฺคาโห   เมื่อจิตตก ให้ยกจิต”  คือปลุกใจเราขึ้นมา แต่ถ้าจิตเกิดความประมาทมัวเมา จิตฟุ้งซ่านเหินลอยเกินไป ท่านให้ข่มจิตลงมา ดังบาลีว่า “ อุทฺธตฺมึ   วินิคฺตโห   เมื่อจิตเหินลอยฟุ้งซ่าน ให้ข่มลงมา”

การจะรักษาสภาพจิตใจให้เป็นปกติได้ ก็ต้องอาศัยการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่

 

 

            * พธบ.,M.A, ผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขตแพร่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

(ที่มา: อ้างอิ่งจาก พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต))
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕