หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » Phra Soravit Aphipanyo (Duangchai) » การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
 
เข้าชม : ๑๗๔๒๒ ครั้ง

''การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น''
 
พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ (2556)

(บทความวิจัย)

การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น

ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

The Construction  and  Development  of  Models  for  youths’s Violent  Behaviors  Adjustment  According  to Buddhist  Approach.

 

 

 

พระสรวิชญ์  อภิปญฺโญ

พธ.บ.(ครุศาสตร์), ป.บัณฑิต.(การวิจัยสังคม),ศศ.ม.) จิตวิทยาชุมชน

Phra SORAVIT APHIPANYO

อาจารย์ประจำภาควิชาปริยัติธรรมและจริยศึกษา คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajvidyalaya University

 

 

 

บทคัดย่อ

 

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น สร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น และประเมินผลการใช้รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยดำเนินการวิจัยตามแบบแผนวิจัย One Group Pretest-Posttest Design ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวะจำนวน ๓๐ คน ใช้เครื่องมือในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวทางพระพุทธศาสนา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ t-test โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ ๙๕ %

 

 

 

 

 

         ผลการศึกษาพบว่า

            ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๙๐ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๖๐.๐ มีผลการเรียนระหว่าง ๒.๕๑-๓.๕๐ ร้อยละ ๕๐.๐ เป็นบุตรคนที่ ๑  ร้อยละ ๔๐.๐ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่าง ๔,๐๐๑-๖,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๖.๗ พ่อมีอาชีพรับจ้าง/ค้าขาย ร้อยละ ๔๓.๓ แม่มีอาชีพรับจ้าง และร้อยละ ๘๓.๓ พ่อแม่อยู่ด้วยกัน

            สำหรับความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ด้านการเป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ ด้านการเป็นเพื่อนที่ของเพื่อน ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ด้านการเป็นสาวกที่ดีพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา หลังจากอบรม ตามโปรแกรมไตรสิกขาตามแนวพุทธ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกด้าน

            ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๔ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

 

         ข้อเสนอในการวิจัยครั้งนี้

โรงเรียน และครู ควรมีนโยบายให้นักเรียนในโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของพฤติกรรมความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสถานบันและพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีการนำโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรวมถึงการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียน สำหรับในการศึกษาครั้งต่อไปควรควรศึกษาความคงอยู่ของการตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง หลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือนหรือมากกว่านั้น และควรมีการนำรูปแบบ (Model) การสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองกับกลุ่มอื่น ๆ

 

 

ABSTRACT

            The research studies in this time for youth behavior violent learning growing and developing reduction form for youth behavior violent  and evaluate for youth behavior violent  using along by three sings program in Buddhism  where as Quasi-Experimental Research . Along by capacity of One Group Pretest-Posttest Design, some of example with 30 vocational students. The data’s were analyzed by consist of the questionnaire for violent acknowledgement  of the questionnaire for violent opinion and three sings program in Buddhism  such as frequency percentage, mean  (), standard deviation (S.D.), t-test. The level of significance was used to test hypothesis at ๙๕ %  

 

According to the hypothesis of this research the results found that.

All communities had been found that, almost the answers are women frequency percentage  ๙๐ were men and ๖๐.๐has been of evaluate frequency percentage ๒.๕๑-๓.๕๐ almost percentage ๕๐.๐ had been the first child, frequency percentage ๔๐.๐ had been for expenditure  between ๔,๐๐๑ ๖,๐๐๐ Bath, frequency percentage  ๓๖.๗ their father had earned money by general work and sale  frequency percentage  ๔๓.๓ their mother had earned money by general work and frequency percentage  ๘๓.๓ their parents had been together.

On the other hand, the comprehensions for youth behavior violent parts namely, in the case of good children for father and mother, in the case of good student for teacher, in the case of good friend for friend, in the case of good citizen for country, and in the case of good for the Buddhist. According to the three sings program in Buddhism   had been found that some of example group could know youth behavior violent learning all increase.

For comparison youth behavior violent study to reduce youth behavior violent pre and post test for youth behavior violent  and evaluate for youth behavior violent  using along by three sings program in Buddhism. The different had found that hypothesis by four parts namely in good children for father and mother, in good student for teacher, in good friend for friend, in good citizen for country, and in good for the Buddhist. For skill to control youth behavior violent had some different hypothesis two parts namely, in the case of good children for father and mother, and in the case of good for the Buddhist.

The suggestions for this research

            School and teachers should have some policy for students learning about institute and for youth behavior violent and evaluate for youth behavior violent using along by three sings program in Buddhism  include teaching and do activity. For next studying should be have some model youth behavior violent and evaluate for youth behavior violent  using along by three sings program in Buddhism  for improve with another groups.

 

บทนำ

วิกฤติปัญหาศีลธรรมกำลังเป็นภัยคุกคามอิสรภาพของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนในสังคม โดยเฉพาะเมื่อระบบทุนนิยม และการบริโภคนิยมได้เข้ามาสู่วิถีชีวิตของคนผ่านช่องทางของการสื่อสารที่ไร้พรหมแดนทำให้คนในสังคมบางกลุ่มขาดการใช้ปัญญากลั่นกรองข้อมูลที่เข้ามาอย่างเป็นระบบ จนทำให้เกิดปัญหาวิกฤติการดำเนินชีวิตของบุคคล ขณะเดียวกันดูเหมือนว่าความรุนแรง  ดังกล่าว      จะได้รับความสนใจจากสถาบันทางสังคมน้อย  อีกทั้งความเข้าใจผิดของผู้นำทางสังคม ที่เชื่อว่าการแก้ไขความรุนแรงนั้น สามารถแก้ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี การใช้เงินงบประมาณ การใช้กฎหมายบังคับ รวมถึงการใช้อำนาจทางการบริหารในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้  ซึ่งจากการใช้เครื่องมือและกระบวนการดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาทางศีลธรรมได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีก  ซึ่งถ้าสถาบันทางสังคมยังให้ความสำคัญกับความรุนแรงน้อยอยู่ ก็ยากที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมได้

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของมนุษย์  มนุษย์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและเป็นเป้าหมายของการพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น เมื่อพิจารณา จากสถานการณ์พฤติกรรมของวัยรุ่นไทยขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในภาวะที่อ่อนแอและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง  เห็นได้จากปรากฏการณ์ความรุนแรงของวัยรุ่นที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนร่วม  เช่น พฤติกรรมค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติด การก่ออาชญากรรมทางเพศ และการกระทำความรุนแรง เป็นต้น และดูเหมือนว่าการกระทำความความรุนแรงของวัยรุ่นยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  เห็นได้จากสื่อมวลชนต่าง ๆ ที่ตีแผ่พฤติกรรมของวัยรุ่น เอแบคโพลล์[1]: โดย ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า จากผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชน ร้อยละ ๙๑.๑ ติดตามข่าวสารเป็นประจำผ่านสื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ ร้อยละ ๕๔.๔ ติดตามผ่านทางหนังสือพิมพ์ ร้อยละ ๕๔.๒ ติดตามผ่านทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ ๓๒.๔ ติดตามผ่านทางวิทยุ แต่พอถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ติดตาม กลับพบว่าเป็นละครโทรทัศน์ ถึงร้อยละ ๖๔.๓ รองลงมาคือรายการเพลง ร้อยละ๕๗.๙ รายการข่าว ร้อยละ ๕๕.๖ รายการเกมโชว์ ร้อยละ ๔๔.๕ รายการวาไรตี้ หรือ ทอล์คโชว์ ร้อยละ ๔๐.๓ และรายการการ์ตูน ร้อยละ ๓๔.๒ สิ่งที่น่าสนใจ คือ เด็กและเยาวชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ ๕๒.๒ พบเห็นภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัวผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ ๔๐.๓ พบเห็นภาพการทำบุญทำทาน กิจกรรมทางศาสนาบ่อยๆ และร้อยละ ๓๙.๔ ที่พบเห็นภาพการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมบ่อยๆ ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้น พบว่า เด็กและเยาวชนถึงร้อยละ ๖๐.๘ พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ ๕๗.๕ พบเห็นภาพการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกันบ่อยๆ ร้อยละ ๕๑.๔ พบเห็นภาพของสงครามและการฆาตกรรม บ่อยๆ ร้อยละ ๔๙.๓ พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ บ่อยๆ ร้อยละ ๔๖.๕ พบเห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ โต้เถียงกัน บ่อยๆ และร้อยละ ๓๙.๓ พบเห็นภาพการทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว บ่อยๆ และ เมื่อถามถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนทำเป็นประจำในช่วง ๑ เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ ๖๗.๙ ระบุเรียนพิเศษ ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ ๕๕.๐ เล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภทเกมต่อสู้ เช่น ยิงปืน ฟัน เตะ ต่อย ร้อยละ ๓๔.๑ ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ร้อยละ ๒๕.๙ เที่ยวกลางคืน เช่น ผับ ดิสโก้ คาราโอเกะ และที่น่าเป็นห่วง คือ เกือบ ๑ ใน ๔ หรือร้อยละ ๒๓.๗ หนีเรียน ร้อยละ ๒๑.๔ เล่นการพนัน ร้อยละ ๑๖.๗ เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนบุกยกพวกตีกัน ร้อยละ ๑๖.๗ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้กำลัง ร้อยละ ๑๓.๕ ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ และร้อยละ ๑๔.๑ ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ จากผลการสำรวจบ่งบอกถึงพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่นับวันจะเสื่อมลงและมีแนวโน้นจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

พฤติกรรมที่เป็นความรุนแรงของวัยรุ่นที่แสดงออกต่อตนเองและสังคมนั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ผลักดันให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่อยู่เหนือภาวะ  ความถูกต้องทางศีลธรรม โดยเฉพาะปัจจัยภายในที่เป็นตัวตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นที่ปราศจากปัญญาเป็นตัวควบคุม  ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ถ้าจะกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมก็เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งหวังความเจริญด้านเศรษฐกิจมากเกินไป ทำให้คนในสังคมแสวงหาความอยู่รอดทางกายภาพมากกว่าสภาวะทางจิต ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาเรื่องค่านิยม  ยาเสพติด อาชญากรรมทางเพศ และการกระความรุนแรง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความเจริญทางด้านวัตถุ ทำให้มนุษย์แสวงหาความสุขทางกายจนนำมาสู่การขาดดุลความสุขทางจิตใจ

แนวทางการแก้ความรุนแรงของวัยรุ่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันต่างๆในสังคมต้องกลับมาดูพื้นฐานทางโครงสร้างการอบรมเลี้ยงดู การให้การศึกษา การสร้างกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ครบวงจร เป็นการรวบรวมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นองคาพยบ ทำงานเป็นทีม ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกของสังคมมนุษย์ ที่เป็นเบ้าหล่อหลอทรัพยากรบุคคลอันทรงคุณค่าของสังคม ประเทศชาติต่อไป  เพราะฉะนั้นผู้ปกครอง ต้องให้การศึกษา อบรมสั่งสอน และส่งเสริมให้วัยรุ่นได้แสดงออกทางศีลธรรมที่ถูกต้องและส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมให้มาก เพื่อสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการอบรมสั่งสอน เพื่อให้วัยรุ่นสร้างจิตเมตตาเกิดขึ้นในสภาวะของจิตใจได้ด้วยตนเอง สถาบันทางสังคมต้องสร้างความร่วมมือการให้โอกาสแก่วัยรุ่นได้พัฒนาสติปัญญาได้ตามศักยภาพของตน การดำเนินชีวิตอยู่ด้วยอุดมคติที่ประกอบด้วยจิตที่มีเมตตาจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในปัจจุบันและอนาคต

              วิธีการที่จะช่วยลดพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงของวัยรุ่นลงได้นั้น อาจจะทำได้หลายวิธี เช่น การออกกฎ ระเบียบ กฎหมาย ข้อห้าม ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการควบคุมพฤติกรรมภายนอกของวัยรุ่น อีกวิธีหนึ่งก็คือการให้ความรู้ ปลูกฝัง ค่านิยม ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม การฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะในการควบคุมตนเองก็เป็นการพัฒนาปัจจัยภายในของบุคคล ตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ได้มีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่เรียนว่า ไตรสิกขา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมการพัฒนามนุษย์อย่างครอบ

            กระบวนการพัฒนามนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ยอมรับเบื้องต้นว่าสามารถพัฒนาบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจได้ โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่น เช่น การกระทำความรุนแรงต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อน สังคมประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา เป็นต้น  ซึ่งหากมีการสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่ใช้กระบวนการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขามาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวัยรุ่นให้มีความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อกัน ไม่คิดอิจฉาริษยา ซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าเป็นความต้องการของคนทุกคนในสังคม เพราะฉะนั้นด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของบุคคลโดยใช้กระบวนการ การพัฒนาตามแนวพุทธ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้กระบวนการพัฒนามนุษย์ ตามหลักไตรสิกขามาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนระดับอาชีวิศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่น

 

เครื่องมือและวิธีการศึกษา

            ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้  เป็นการศึกษาโดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental Research) ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Desigh (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มประชากร จำนวน ๓๐ คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหา ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังดำเนินการ โดยการทดสอบกลุ่มเดียวกันก่อนและหลัง ด้วย paired simples t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ด้วย independent simples t-test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕

 

ผลการศึกษา

จากการศึกษาการสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ ๙๐ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๖๐.๐ มีผลการเรียนระหว่าง ๒.๕๑-๓.๕๐ ร้อยละ ๕๐.๐ เป็นบุตรคนที่ ๑  ร้อยละ ๔๐.๐ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่าง ๔,๐๐๑-๖,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๖.๗ พ่อมีอาชีพรับจ้าง/ค้าขาย ร้อยละ ๔๓.๓ แม่มีอาชีพรับจ้าง และร้อยละ ๘๓.๓ พ่อแม่อยู่ด้วยกัน

              สำหรับการตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรงทั้งก่อนและหลังของกลุ่มตัวอย่าง ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ด้านการเป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ ด้านการเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน    ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติและด้านการเป็นสาวกที่ดีของพระพุทธศาสนา มีรายละเอียดดังนี้

              ๑. ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ พบว่า ก่อนการฝึกอบรมและหลังการฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดตอบว่า ใช่ มีเพียงข้อเดียว คือ “การทำลายวงศ์ตระกูลเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ” ซึ่งก่อนฝึกอบรมตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๖.๗ และไม่ใช่ร้อยละ ๑๓.๓  หลังจากการฝึกอบรมตอบว่า ใช่ ร้อยละ ๑๐๐.๐ ทั้งหมดทุกข้อ

              ๒. ด้านการเป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ พบว่า หลังการฝึกอบรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกข้อดังต่อไปนี้ คือ การดูถูกเหยียดหยามครูอาจารย์เป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำ ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๑๐๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๓.๓ การทำงานช่วยพ่อแม่เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่าย ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ การดูแลปรนนิบัติพ่อแม่เป็นสิ่งที่น่าอาย ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔ การไม่เข้าร่วมกิจกรรมของสถาบันเป็นสิ่งที่พึ่งกระทำ ทั้งก่อนและหลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ ครูอาจารย์เป็นผู้ให้แสงสว่างทางปัญญาแก่ศิษย์ ทั้งก่อนและหลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ การโต้เถียงครูอาจารย์โดยไม่มีเหตุผลเป็นความก้าวร้าว ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๖ การดูถูกเหยียดหยามเพื่อนเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๗ ไม่ต้องปฏิบัติตนตามระเบียบของสถานศึกษาก็ได้ ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๗๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ครูอาจารย์มอบหมายงานให้ เราไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๓.๔ การคุยกันในชั้นเรียนระหว่างครูสอนเป็นสิ่งที่น่ายกยก ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๗

              ๓. ด้านการเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน พบว่า หลังดำเนินกิจกรรมการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกข้อดังต่อไปนี้ คือ การเป็นเพื่อนที่ดีไม่ควรใช้วาจาดูถูกเหยียดหยามกัน ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๗๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่า ใช่ร้อยละ ๘๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๓การยุยงให้บุคคลอื่นเกลียดชังครูอาจารย์ เป็นสิ่งที่ทำได้ ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ ๗๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๗๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔ เมื่อเพื่อนมีความทุกข์ เราควรจะซ้ำเติมให้มาก ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๖ การชักจูงเพื่อนเสพสิ่งเสพติดเป็นเรื่องที่ต้องทำ ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ การหวังประโยชน์จากเพื่อนต้องทำให้เพื่อนอับอายให้ถึงที่สุด ทั้งก่อนและหลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๖.๗ การเพื่อนชักชวนเพื่อนในในทางที่ฉิบหายเป็นสิ่งที่ท้าท้าย ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๓

              ๔. ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ พบว่า หลังดำเนินกิจกรรมการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกข้อดังต่อไปนี้ คือการทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๖๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๗๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ การมีจิตใจเอื้อเฟือเผือแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์เป็นคุณสมบัติของผู้ดี ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ความสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสร้าง ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๖ เมื่อเห็นผู้กระทำผิดกฎหมายเราควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ ๙๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔การลักขโมยสิ่งของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ท้าทายก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔ การทำลายสิ่งของสาธารณะเป็นความภาคภูมิใจก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๖ ความซื่อสัตย์ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ หลังดำเนินการตอบว่า ๙๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๗

                   ๕. ด้านการเป็นสาวกที่ดีของพระพุทธศาสนา พบว่า หลังดำเนินกิจกรรมการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกข้อดังต่อไปนี้ คือหน้าที่ชาวพุทธต้องปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา ทั้งก่อนและหลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ การศึกษาหลักธรรมคำสอนให้เข้าใจถ่องแท้เป็นสิ่งที่ควรกระทำทั้งก่อนและหลังตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เวลาฟังธรรมไม่ควรพูดคุยเสียงดัง ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๑๐๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๗ การอุปถัมภ์บำรุงวัด เป็นหน้าที่ของชาวพุทธ ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๘๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ เมื่อยืมสิ่งของจากวัด ไม่จำเป็นต้องส่งคืนก็ได้ ทั้งก่อนและหลังการดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เมื่อพระสงฆ์ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ควรได้รับการตำนิ ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๗๖.๗ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๓การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเป็นสิ่งที่จำเป็น ก่อนดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๙๐.๐ หลังดำเนินการตอบว่าใช่ร้อยละ ๑๐๐.๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ พฤติกรรมของพระสงฆ์ที่ไม่ดีเราควรประณามพระสงฆ์ทั้งหมด ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๖๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ การทำลายพระพุทธรูปเป็นสิ่งทำได้ ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๐.๐ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๙๓.๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ การแต่งตัวเข้าวัดไม่จำเป็นต้องเรียบร้อย ก่อนดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อยละ ๘๓.๓ หลังดำเนินการตอบว่าไม่ใช่ร้อย ๘๖.๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ

 

การเปรียบเทียบข้อมูลการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นการตอบวัตถุประสงค์และข้อคำถามการวิจัยการสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา จากการรวบรวมข้อมูลแบบทดสอบวัดผลการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนาทั้งโดยภาพรวมทุกด้านและรายด้านปรากฏผลการศึกษาวิจัยดังต่อไปนี้

            ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมทุกด้านพบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig.=.๐๐๑) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๒๔๑, S.D. =.๕๐๓) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๒๔๑, S.D. =.๕๐๓)

                   สำหรับการเปรียบเทียบผลการวัดทัศนคติเกี่ยวกับพฤติกรรมความรุนแรงรายด้าน ก่อนและหลังการสร้างและพัฒนารูปแบบการวัดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา ปรากฏผลการศึกษาแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.   ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดี

       สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดีพบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕(Sig.=.๒๒๑) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๔๖๖, S.D. =.๓๘๓) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๓๒๖, S.D. =.๔๙๖)

ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕(Sig. = .๐๒๖) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๒๙๓, S.D. =.๔๗๗) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๙๒๖, S.D.=.๖๘๗)

     ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่น ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕(Sig. = .๐๐๘) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๓๖๐, S.D. =.๔๙๓) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๙๒๖, S.D.=.๗๑๙)

     ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี

       ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดีพบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕(Sig. = .๐๑๙) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๖๖๐, S.D. =.๓๒๐) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๒๒๖, S.D.=.๖๔๐)

     ด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี

       ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่น ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕(Sig. = .๑๓๑) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๐๕๐, S.D. =.๖๒๓) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๘๐๐, S.D.=.๖๐๓)

     ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง

       สำหรับผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่น ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕(Sig. = .๐๐๔) โดยผลการทดสอบหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง (= .๘๐๗, S.D. =.๖๒๓) ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง(= .๓๔๕, S.D.=.๖๐๓)

 

ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา

     โรงเรียน และครู ควรมีนโยบายให้นักเรียนในโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของพฤติกรรมความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสถานบันและพฤติกรรมของนักเรียนโดยมีการนำโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรวมถึงการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงเรียน สำหรับในการศึกษาครั้งต่อไปควรควรศึกษาความคงอยู่ของการตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง หลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือนหรือมากกว่านั้น และควรมีการนำรูปแบบ (Model) การสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองกับกลุ่มอื่น ๆ

 

อภิปรายผล

                   การอภิปรายผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะได้นำประเด็นที่เป็นประข้อค้นพบเพื่ออภิปรายให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและสอดคล้องของข้อมูล ดังนี้         จากผลการศึกษา การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา พบว่า ความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ด้านการเป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ ด้านการเป็นเพื่อนที่ของเพื่อน ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ด้านการเป็นสาวกที่ดีพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา หลังจากอบรม ตามโปรแกรมไตรสิกขาตามแนวพุทธ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกด้าน ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ      สุรพงษ์  ชูเดช[2]  ได้ศึกษาผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขา เมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมและเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมแล้ว ๑ เดือน มีวินัยในตนเองสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมตามวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลดังกล่าวนี้พบในองค์ประกอบย่อยของวินัยในตนเองทั้ง ๔ ด้าน คือ ความรับผิดชอบ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความอดทน และความซื่อสัตย์ และ นิภาพร ลครวงศ์[3]  ได้ศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การฝึกสมาธิ และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ร่วมกับการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล  การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสามารถลดความเครียด ความวิตกกังวล เพิ่มความสามารถในการปรับตัว และการเผชิญปัญหารวมทั้งแก้ปัญหาได้ สามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการฝึกสมาธิ ตามแนวพระพุทธศาสนาสามารถนำมาใช้ช่วยเหลือบุคคลที่ประสบปัญหา ให้มีสติมั่นคง ไม่อ่อนไหวกับทุกสิ่งที่มากระทบ มีหลักการควบคุมจิตใจ จากการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลประสบปัญหาต่าง ๆ ในขณะเรียนมากมายไม่ว่าจะเป็นการปรับตัว ความเครียด ความวิตกกังวล การมีมโนภาพเกี่ยวกับตนเองต่ำ มีทัศนคติในการเรียนที่ไม่ดี ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจนำไปสู่ความยุ่งยากในการดำเนินชีวิตประจำวัน และชีวิตการทำงานของนักศึกษาพยาบาล ผู้วิจัยจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีที่จะช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาต่างๆของนักศึกษาพยาบาลให้ได้เรียนรู้วิธีการที่จะจัดการ ควบคุมหรือป้องกันปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น จึงได้นำวิธีการฝึกสมาธิและวิธีให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับการฝึกสมาธิ มาใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล โดยมุ่งศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การฝึกสมาธิ และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับการฝึกสมาธิ ต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล เพื่อเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการส่งเสริมสุขภาพจิตต่อไป วัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อสุขภาพจิต (๒) เพื่อศึกษาผลของการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิต (๓)เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มร่วมกับการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิต (๔)เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มการฝึกสมาธิและการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มกับการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิต ผลการศึกษาพบว่า  หลังได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ๑ สัปดาห์ นักศึกษาสามารถจัดการด้านความเครียด ความวิตกกังวล และการปรับตัว ดีขึ้นกว่าก่อนได้รับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ และหลังการทดลอง ๔ สัปดาห์ นักศึกษาสามารถจัดการด้านการแก้ปัญหาดีขึ้นกว่าหลังการทดลอง ๑ สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ หลังได้รับการฝึกสมาธิ ๑ สัปดาห์ นักศึกษาสามารถจัดการความเครียดดีกว่าก่อนได้รับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ ขณะเดียวกันหลังไดรับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มกับการฝึกสมาธิ ๑ สัปดาห์ นักศึกษาสามารถจัดการความเครียด ความวิตดกังวล การปรับตัวและการแก้ปัญหา ดีขึ้นกว่าก่อนได้รับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต ที่ระดับ .๐๕ และหลังการทดลอง ๔ สัปดาห์ นักศึกษาสามารถจัดการความเครียด ความวิตกกังวล การปรับตัวและการแก้ปัญหา ดีขึ้นกว่าหลังการทดลอง ๑ สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕ ขณะเดียวกันยังพบว่านักศึกษาที่ได้รับวิธีส่งเสริมสุขภาพจิต ทั้ง ๓ วิธี มีสุขภาพจิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .๐๕

            ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๔ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรงและแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า พฤติกรรมการเป็นลูกที่ดี และการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีนั้น ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษเกี่ยวกับความกตัญญูต่อบุพการีซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว การที่บุคคลปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา   ในหลักธรรมที่ว่าด้วย  ความกตัญญูกตเวทิตา จึงทำให้ต้องดำรงตนเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พฤติกรรมทั้งสองด้านไม่แตกต่างกัน

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

1.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรกำหนดเป็นนโยบายการพัฒนานักศึกษาด้วยการให้สถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดนำรูปแบบการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาสามัญ เช่น วิถีไทย จิตวิทยา เป็นต้น เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า การฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาสามารถลดพฤติกรรมการกระทำรุนแรงของวัยรุ่นได้

2.ผู้บริหารสถานศึกษาแผนกสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา ควรมีการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนด้วยการปลูกฝังคุณธรรมสำหรับพื้นฐานการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น คือ การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นสาวกที่ดีของศาสนา เนื่องจากผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยดังกล่าวมีความสัมพันธ์กัน เป็นปัจจัยพฤติกรรมที่เกื้อกูลกันและกัน

3.ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาผู้เรียนระหว่างสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษากับสถาบันการศึกษาทางศาสนา สถาบันครอบครัว เพื่อหาแนวทางลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยนำโปรแกรมการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่น ๆ ในโรงสถานศึกษา ชุมชน บ้านและวัดจัดขึ้น

 

ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ   

1.ผู้บริหาร ครูอาจารย์ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขาไปจัดทำเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาอื่นเพื่อพัฒนานักศึกษาอย่างเป็นระบบ เนื่องจากผลการวิจัยหลายเรื่องพบว่า การจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2.   ผู้ปกครองควรส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกได้มีโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาเพื่อเพิ่มพูนทัศนคติและการตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณธรรมพื้นฐานสำหรับความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นสาวกที่ดีของศาสนา

3.สถาบันการศึกษาทางพระพุทธศาสนาหรือคณะสงฆ์ควรมีการเผยแผ่รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิขาเข้าไปในสถานศึกษาทุกแผนก ทุกระดับ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กเยาวชน โดยใช้หลักและวิธีการทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 

ข้อเสนอในการทำวิจัยครั้งต่อไป

1.   ควรศึกษาความคงอยู่ของการตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง หลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือน หรือ มากกว่านั้น

๒. ควรมีการนำรูปแบบ(Model)  การสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองกับกลุ่มอื่น ๆ

 

เอกสารอ้างอิง

นิภาพร  ลครวงศ์. ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การฝึกสมาธิ และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ร่วมกับการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.๒๕๔๒. หน้า บทคัดย่อ.

สุรพงษ์  ชูเดช. ผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.๒๕๔๒, บทคัดย่อ.

เวปไซต์

[1] http://www.ryt9.com/s/abcp/524293  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2555

 



[1] http://www.ryt9.com/s/abcp/524293  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 มกราคม 2555

              [2] สุรพงษ์  ชูเดช. ผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.๒๕๔๒, บทคัดย่อ.

              [3] นิภาพร  ลครวงศ์. ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การฝึกสมาธิ และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ร่วมกับการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.๒๕๔๒. หน้า บทคัดย่อ.

 

(ที่มา: บทความวิจัย)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕