หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU
ภายในระบบ
หลักสูตร
รายละเอียดประจำวิชา
เอกสารประกอบการสอน
ตำราวิชาการ
บทความวิชาการ

หน้าหลัก » พระมหากฤษณะ » ปรัชญากับนักปรัชญา
 
เข้าชม : ๑๑๙๔๖ ครั้ง

''ปรัชญากับนักปรัชญา''
 
พระมหากฤษณะ (2553)

         ความหมายของคำว่า Philosophy มีความหมายตามตัวอักษรว่า ความรักในความรู้
มาจากรากศัพท์ว่า Philo แปลว่า ความรัก (Love) กับคำว่า Sophia แปลว่า ความรู้
(Knowledge) เป็นความรักในการที่จะค้นหาความจริงอันสมบูรณ์ (Perfect) สามารถเข้าถึงและวินิจฉัยสิ่งทั้งหลายถึงก้นบึ้ง (Ultimate reality) เป็นลักษณะของจิตที่ประสงค์จะหยั่งทราบความรู้ตามธรรมชาติ (Natural knowledge) เกิดจากการศึกษาหาความจริงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ เป็นความรู้ที่สามารถอธิบายได้มากหรือน้อยตามขีดแห่งประสบการณ์ของแต่ละบุคคล๑สิ่งที่คู่กันกับปรัชญาก็คือนักปรัชญาซึ่งเป็นผู้ที่ชอบครุ่นคิดปรัชญามาเสนอต่อสังคม คำว่านักปรัชญา หรือ Philosopher เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองพันห้าร้อยปีมาแล้วนักปรัชญากรีกชื่อ พิธากอรัสเป็นผู้ใช้คำนี้เป็นคนแรก ชาวกรีกยุคนั้นเรียกนักปราชญ์ราชบัณฑิตว่า Sophoi(ผู้รอบรู้) พิธากอรัสรู้สึกว่าคำนี้สูงส่งเกินไป จึงคิดคำผสมขึ้นว่า Philosophoi แปลว่าผู้รักความรอบรู้ (Lover of Wisdom) สำหรับใช้เรียกท่านผู้คงแก่เรียนหรือนักวิชาการสมัยนั้น เพราะนักปรัชญายุคนั้นรอบรู้วิทยาการหลายสาขา และวิทยาการเหล่านั้นยังไม่มีชื่อเฉพาะว่าวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ฯลฯ แต่เรียกรวมกันว่าปรัชญา (Philosophy) ซึ่งได้แก่สหวิทยาการนั่นเองด้วยเหตุนี้ปรัชญาในสมัยโบราณจึงเป็นชื่อรวมของวิทยาการหลายแขนง เพราะปรัชญาหมายถึงความรักในความรู้ วิทยาการใดให้ความรู้ วิทยาการนั้นเป็นปรัชญา หลักฐานที่แสดงว่าปรัชญา
ดูเนื้อหาฉบับเต็ม

 

(ที่มา: สารนิพนธ์ ปี ๒๕๕๓)
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕